
เรื่องของหญ้าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่และมือเก่าควรรู้ และไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด!
ไม่ต้องท้อใจหากเด็กๆไม่แตะหญ้าครับ
*หากคุณกำลังประสบปัญหา แพรี่ด็อกไม่ยอมกินหญ้า หรือท่านใดมีปัญหาเรื่องโภชนาการ สามารถติดต่อได้ที่เราเพื่อรับคำปรึกษาได้ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย
หญ้าแห้ง หรือ หญ้าทิโมธี
แพร์รี่ด็อกเป็นสัตว์ทุ่งหญ้า อาหารหลัก คือ “หญ้า” แน่นอนว่า ของสดย่อมน่ากินกว่าของแห้ง
แล้วทำไมต้อง “หญ้าแห้ง” ด้วย?
หญ้าแห้งเหมาะสม และดีกว่าด้วยเหตุผลทุกประการ ดังนั้นเราจึงแนะนำให้กินหญ้าแห้งมากกว่า หญ้าสดเพราะ
*1 สารอาหาร *2 ความสะอาด *3 การเก็บรักษา *4 กลิ่นปัสสวะ-อึ *5 การลับฟัน *6 การกินน้ำสะอาด
(ถ้ากินของสดมากๆ เค้าจะไม่กินน้ำ น้ำสะอาด ใครๆก็รู้ว่าดีต่อร่างกายที่สุด) 7 8 9…

“หญ้าโอ้ต” คือหญ้าแห้งที่แนะนำสำหรับแพรี่ที่ไม่กินหญ้าแห้งเลย เพราะหญ้าโอ้ตหวานที่สุด กินง่ายที่สุด เราจึงใช้ในการ ฝึกให้เจ้าแพรี่ด็อก ..“หัดกินหญ้า”
1 สัปดาห์แรก (ในกรณีที่ไม่กินหญ้าแห้งเลย ในช่วงแรกเราไม่ได้หวังผลให้เค้าต้องกินหญ้า แต่ให้เค้าคุ้นชินกับหญ้าแห้ง เขี่ยไปเขี่ยมา อาจจะอยากเอาเข้าปากดูบ้าง)
– ให้ผสมหญ้าโอ้ต และ หญ้าขนสด ในอันตราส่วนที่เท่าๆกัน ผสมรวมกัน กับหญ้าทิมโมธีเล็กน้อย ใส่ในกล่องหรือตะกร้า ที่เค้าจะสามารถคุ้ยเขี่ยได้ (ไม่ใช่ลูกบอล)
– 5 วันต่อมา ลดปริมาณหญ้าขนสดลงครึ่งหนึ่ง แทนที่ด้วยหญ้าทิมโมที ให้หญ้าโอ้ตในปริมาณเท่าเดิม
*สำคัญว่า เมื่อหญ้าแห้งถูกความชื้นของหญ้าขนสด อาจก่อให้เกิดเชื้อโรค และราได้ และหญ้าขนสดต้องล้างให้สะอาด ถูใบด้วย เลือกแหล่งที่ไม่มีมลพิษทางอากาศ อึสุนัข แมว หรือยาฆ่าแมลง
– 5 วันต่อมา เลิกให้หญ้าขนสด ผสมหญ้าโอ้ต และ ทิมโมธี ในปริมาณที่เท่าๆกัน
– 5 วันต่อมา เพิ่มปริมาณ หญ้าทิมโมธี อีกครึ่งหนึ่ง พร้อมกับลดหญ้าโอ้ตลงครึ่งหนึ่ง (เทียบขนาด หญ้า1 กำมือใหญ่ คือ หญ้าโอ้ต ครึ่งกำมือ ทิมโมที 1กำมือกับอีกครึ่งหนึ่ง)
– 5 วันต่อมา เลิกให้หญ้าโอ้ต เหลือแต่ ทิมโมธี 1 กำมือใหญ่ๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นได้เรื่อยๆไม่จำกัด เมื่อเห็นว่าเค้ากินได้มากขึ้น
สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกหญ้าที่มีคุณภาพสูง
เพราะเค้าไม่ได้กินทุกส่วนของหญ้า จะเลือกกินเฉพาะส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น ดังนั้นหากอย่าเสียดายที่จะเก็บหญ้ากองโตทิ้งทุกวัน ผู้เลี้ยงมักเข้าใจผิดว่าเค้าไม่กินหญ้า เพราะเห็นมีเหลืออยู่เต็มเลย คนที่ลูกๆกินหญ้าเยอะๆเก่งๆ ก็เก็บเศษหญ้ากองโตทิ้งทุกวันเหมือนกันค่ะ.. เค้าเป็นสัตว์ช่างเลือก และบ้านเกิดของเค้า สามารถกินหญ้าทิ้งๆขว้างๆได้แบบไม่เคยต้องเสียดายเลย
– หากเห็นเค้าหยิบหญ้ามาแทะๆ เส้นสองเส้น อันนั้นเป็นสัญญาณที่ดี เค้าไม่ได้กินให้เห็นเยอะๆตลอดเวลา แต่เราต้องมีให้เค้าเห็นเยอะๆตลอดเวลา
– แนะนำให้ใส่หญ้าในกล่องที่เค้าสามารถคุ้นเขี่ยได้สะดวก เค้าอาจจะลงไปอึบ้าง ฉี่บ้าง หน้าที่เราคือเปลี่ยนใหม่ ทำความสะอาดทุกวัน ใครอยากจะกินอาหารดีๆในจานที่ไม่ได้ล้างอ่ะ?!
– ให้หญ้ากำมือโตๆ ผู้เลี้ยงมักคิดว่า ให้นิดหน่อยยังไม่กินเลย ให้กำใหญ่ๆก็เหลือทิ้ง เสียดาย นึกถึงคะน้า 1 ต้นค่ะ บางคนชอบกินใบ กินก้านขาวๆ กินก้านเขียวๆ ก่อนปรุงอาหารเราเด็ดทิ้งก็เยอะ เอามาผัดเสร็จที่เรากินจริงๆก็นิดหน่อย แต่ถ้าให้คะน้าแค่ต้นเดียว แล้วเราอยากกินแค่ก้านอ่อนขาวๆ… เราก็จะได้กินคะน้าแค่ต้นเดียว… จะอิ่มมั้ยคะ ^^
Original Work Written by: Dr. Gena Seaberg
Translation and Editing by: Rainnie Bunnie
Provided with Permission for Educational Purposes by: Pda – Miniature Zoo